วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

และที่สำคัญ


คำที่ควรจำ
(คำพวกนี้เป็นคำที่ควจจำเพราะใช่บ่อยมาก)

Price     ราคา
Area     พื้นที่
Even     เลขคู้
Odd      เลขคี่
Grade   เกรด
True      จริง 
False     เท็จ
Salary   เงินเดือน
Bonus     โบนัส
Average  ค่าเฉลี่ย
Sum        ผลรวม
Second   วินาที
Hour       ชั้วโมง

***  สูตรนับค่าสะสม  Sum = Sum + n

ชนิดของตัวแปล ที่นิยมใช้โดยทั่วไป
1.ตัวแปลที่เป็นตัวเลขที่เป็นจำนวนเต็ม : Intejer
2.ตัวแปลที่เป็นตัวเลขที่เป็นทศนิยม : Real
3.ตัวแปลที่เป็นตัวอักษร : Char
4.ตัวแปลที่เป็นข้อความ : string
5.ตัวแปลที่เป็นรูปภาพ : Object





รหัสเทียม หรือ ซูโดโค้ด (Pseudo Code)
            เป็นคำสั่งที่จำลองความคิดเป็นลำดับขั้นตอนโดยใช้สัญลักษณ์เป็น ประโยคภาษาอังกฤษ ซึ่งซูโดโค้ดไม่ใช่ภาษาโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์จึงไม่ สามารถนำไปประมวลผลได้ คือ ไม่สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง แต่เป็นการเขียนจำลองคำสั่งจริงแบบย่อๆ ตามอัลกอริทึมของโปรแกรมระบบ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ได้ และยังสามารถนำไปทำการเขียนโปรแกรมในรูปแบบภาษาอังกฤษที่มีขั้นตอนและรูปแบบแน่นอนกะทัดรัด และมองดูคล้ายภาษาระดับสูงที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่เจาะจงภาษาใดภาษาหนึ่ง

ประโยชน์ของซูโดโค้ด

            • เป็นเครื่องมือในการกำหนดโครงร่างกระบวนการทำงานของการเขียนโปรแกรมแต่ละโปรแกรม
            • เป็นต้นแบบในการทบทวน ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาโปรแกรมของโปรแกรมเมอร์ และนักวิเคราะห์ระบบ
            • เป็นตัวกำหนดงานเขียนโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งให้            คอมพิวเตอร์ทำงานตามกระบวนการที่ได้จำลองกระบวนการจริงไว้ในซูโดโค้ด

วิธีการเขียนซูโดโค้ด

            • ประโยคคำสั่ง (Statement) จะอยูในรูปแบบของภาษาอังกฤษอย่างง่าย
            • ในหนึ่งบรรทัด ให้เขียนประโยคคำสั่งเพียงคำสั่งเดียว
            • ควรใช้ย่อหน้า เพื่อแยกคำเฉพาะ (Keywords)  ได้ชัดเจน รวมถึงจัดโครงสร้างการควบคุมให้เป็นสัดส่วน ซึ่งช่วยให้อ่านโค้ดได้ง่าย
            • แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนลำดับจากบนลงลาง โดยมีทางเข้าเพียงทางเดียว และมีทางออกทางเดียวเท่านั้น
            • กลุ่มของประโยคคำสั่งต่างๆ อาจจัดรวมกลุ่มเข้าด้วยกันในรูปแบบของโมดูล แต่ต้องมีการกำหนดชื่่อของโมดูลด้วย เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานโมดูลนั้นได้

ตัวอย่างการเขียนรหัสเทียม Pseudo Code

            Algorithm Problem_1
            Variables : mLoop, Sum, testScore, average
            Begin
                    Input mLoop
                    Sum = 0
                    For I = 1 to mLoop
                            Input testScore
                            Sum = Sum + testScore
                    Next
                    average = Sum / mLoop
                    Print average
            End Problem_1


รูปแบบการเขียน Pseudo Code

        1. การกำหนดค่า และการคำนวณ
                name = expression

                name คือ ชื่อตัวแปรที่ใช้สำหรับเก็บค่า
                expression คือ ค่าข้อมูลหรือนิพจน์

ตัวอย่าง
        salary = 1000
        overTime = 2500
        tax = 125
        Income = salary + overTime - tag

     
        2. การอ่าน/รับข้อมูล
                การอ่านข้อมูลสามารถใช้คำสั่ง READ, INPUT หรือ GET ได้ โดย
                        Read variables_1 ,variables_2, variables_3
                        Input variables_1 ,variables_2, variables_3
                        Get variables_1 ,variables_2, variables_3

                READ ใช้สำหรับการอ่านค่าที่มีอยู่แล้ว มาเก็บไว้ในตัวแปร เช่น การอ่านข้อมูลจากไฟล์ โดยจะทำงานร่วมกับ OPEN (การเปิดไฟล์)
                INPUT และ GET ใช้สาำหรับการรับค่าข้อมูลผ่านทางแป้นพิมพ์
                Variable คือ ตัวแปรที่ใช้เก็บข้อมูลที่อ่านหรือรับเข้ามา ซึ่งสามารถกำหนดได้ ตามจำนวนตัวแปรที่ต้องการ โดยใช้เครื่องหมาย “,” คั่นระหว่างชื่อตัวแปร

ตัวอย่าง
        Input a, b, c
        Answer = a + b + c

        Get current_date
        expire_date = current_date + 120
     
        Open student_file
        Read Id, Name, Address, Sex

        3. การแสดงผลข้อมูล
                การแสดงผลข้อมูลสามารถใช้คำสั่ง Print , Prompt, Write
                    print  variables_1 ,variables_2, variables_3
                    prompt variables_1 ,variables_2, variables_3
                    write variables_1 ,variables_2, variables_3

                PRINT และ PROMPT ใช้สำหรับการพิมพ์ค่าข้อมูล หรือข้อความ
                WRITE ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูล

ตัวอย่าง
        Prompt " Enter 3 Value ==> "
        Input Value1 , Value2 , Value3
        Sum = Value1 + Value2 + Value3
        Print Sum

        Open Student _file
        Input Id, Name, Address, Sex
        Write Id, Name, Address, Sex

        4. การกำหนดเงื่อนไข
                If < condition > Then
                        Activity 1
                Else
                        Activity 2
                Endif

                <condition> คือ เงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งหากเงื่อนไขเป็นจริง จะทำกิจกรรมหลัง THEN (activity1)  แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะทำกิจกรรมหลัง ELSE (activity2)

ตัวอย่าง
         IF sex = “M” THEN
                male = male + 1
         ELSE
                female = female + 1
         ENDIF

         IF score >= 80
                grade = “A”
         ELSEIF score >= 70
                grade = “B”
         ELSEIF score >= 60
                grade = “C”
         ELSEIF score >= 50
                grade = “D”
         ELSE
                grade = “F”
         ENDIF

            5. ในกรณีที่มีหลายเงื่อนไข
                    การใช้ IF อาจทาให้ตรวจสอบโปรแกรมได้ยาก สามารถใช้คาสั่ง CASE …. END CASE แทนได้

ตัวอย่าง
            CASE score OF
            >= 80 : grade = “A”
            >= 70 : grade = “B”
            >= 60 : grade = “C”
            < 60 : grade = “F”
            ENDCASE

            6. การทางานเป็นรอบ (Loop)
                        การทางานเป็นรอบด้วยลูป WHILE … ENDWHILE

                        WHILE<condition>
                        activity1
                        activity2
                        activity3
                        ENDWHILE

            การทำงานของลูป WHILE จะมีการตรวจสอบเงื่อนไขก่อน โดยหากเงื่อนไขเป็นจริง จะทำกิจกรรมภายในลูปซ้ำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปแต่หากเงื่อนไขที่ตรวจสอบครั้งแรกเป็นเท็จ ก็จะไม่มีการทากิจกรรมภายในลูปเลย

ตัวอย่าง

                    num = 1
                    WHILE num <= 20
                                PRINT num
                                num = num + 1
                    ENDWHILE
                    PRINT “STOP RUN”


            7. การทำงานเป็นรอบ (Loop)
                    การทำงานเป็นรอบด้วยลูป DO … UNTIL

                    DO
                        activity1
                        activity2
                        activity3
                    UNTIL <condition>


            การทำงานของลูป DO … UNTIL จะทำกิจกรรมภายในลูปก่อนหนึ่งรอบ จากนั้นจะทาการตรวจเงื่อนไข โดยจะวนซ้าไปเรื่อยๆ จนกว่าเงื่อนไขจะเป็นจริง จึงหลุดออกจากลูป และถึงแม้เงื่อนไขที่ตรวจสอบเป็นจริงตั้งแต่แรก แต่ลูป DO…UNTIL ก็จะมีการทากิจกรรมภายในลูปอย่างน้อยหนึ่งรอบเสมอ

ตัวอย่าง

                    num = 0
                    DO
                            PRINT “HELLO…”
                            num = num + 1
                    UNTIL num > 20

            8. การทางานเป็นรอบ (Loop)
                        การทางานเป็นรอบด้วยลูป FOR … NEXT

                    FOR i=1 to n
                                activity1
                                activity2
                                activity3
                    Next
ความคิดเห็น
คุณไม่มีสิทธิ์เพิ่มความคิดเห็น

หลักการทำงานของ Flowchart  นั้นมีอยู่ 3
ประเภทคือ   
   1. การทำงานแบบตามลำดับ (Sequence)
   2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision or Selection)
   3. การทำซ้ำ (Repeation or Loop)
โดยแต่ละประเภทจะทำหน้าที่ดังนี้
    1. การทำงานแบบตามลำดับ (Sequence)
     รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุดคือ เขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด 
 และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด
 สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์
ตัวอย่างเช่น  

   2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข (Decision or Selection)
     การตัดสินใจ หรือเลือกเงื่อนไขคือ เขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ 
 โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง
 และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น
 เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย
 เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
ตัวอย่างเช่น


   3. การทำซ้ำ (Repeation or Loop)

    การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการ
ที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา 
จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการด้วยตนเอง
รูปแบบการทำซ้ำนั้น ยังมีเงื่อนไขที่เข้ามาเกี่ยวข้อง  บาง loop  ก็จะมีเงื่อนไขต่างเช่น
 ทำก่อนแล้วค่อยเช็คทีหลัง  เช็คก่อนแล้วทำทีหลัง

ตัวอย่างเช่น
      ตัวอย่างของรูปแบบ For
             


ตัวอย่างแบบวนซ้ำ แบบ while


ตัวอย่างแบบวนซ้ำ แบบ  Do- while
















วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557


เรามาทำความรู้จักกับสัญลักษณ์กันก่อนน่ะค่ะ

สัญลักษณ์ Flowchart

                         





หลังจากที่เรารู้จักกับขั้นตอนของ อัลกอริทึมไปบ้างแล้วน่ะค่ะ  ยังมีอีกหลายขั้นตอนในการเขียนอัลกอริทึมค่ะ เรามาศึกษาเกี่ยวกับ โฟลว์ชารต์ ( Flow Chart ) กันน่ะค่ะ
      ความหมายของโฟลว์ชารต์
   โฟลว์ชารต์ ( Flow Chart ) หมายถึง ผังแสดงขั้นตอนและลําดับการทำงานต่าง ๆ ในโปรแกรม
โดยแสดงในรูปแบบของสัญลักษณ์แทนการทำงาน
   โฟลว์ชารต์ ( Flow Chart ) หมายถึง วิธีการออกแบบโปรแกรมอย่างเป็นขั้นตอนและมีเหตุมีผล
โดยการใช้สัญลักษณ์และตัวอักษรประกอบการอธิบายในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมและผู้
ที่สนใจทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้


    ผังงานแบ่งได้ 2 ประเภท 
1. ผังงานระบบ (System Flowchart)
คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้าง ๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย
2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
คือ ผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพธ์



วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557


ตัวอย่างการเขียนอัลอกริทึม
     ในรูปคําสั่งเทียม คือ มีลักษณะเปนการเขียนคําสั่งต่างๆที่ทําให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจ
ง่ายซึ่งคําสั่งที่ใช่จะเป็นคําพูดธรรมดา  ไม่ยึดหลักไวยากรณ์ของภาษาคอมพิวเตอร์
     ต้วอย่างที่ 1 การหาผลรวมของตัวเลข  N จํานวน
          Program : Sum
                รับค่าจํานวนตัวเลขทั้งหมดเก็บไว้ที่ตัวแปร  N
                กําหนดให้ตัวแปรเก็บตวนับเริ่มต้น I = 1 , เก็บผลรวมเริ่มต้น Sum = 0
          Repeat
                รับค่าข้อมูลเก็บไว้ที่ X

                นําค่าข้อมูลที่อ่านได้บวกสะสมไว้ที่ตัวแปรเก็บผลรวม Sum
                เพิ่มค่าตัวนับ I ขึ้นอีก 1
          Until เป็นเลขตัวสุดท้ายจริง ( I > N )
                แสดงตัวแปรที่เก็บผลรวมสะสม Sum
          End Program

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557



อัลกอริทึม (Algorithm)
   หมายถึง วิธีการหรือกระบวนการท างานใดงานหนึ่งที่สามารถ
แบ่งขั้น ตอนออกเป็นย่อย ๆ ที่แน่นอน ซ่ึงเมื่อทราบขั้น ตอนการทำงานที่แน่นนอนแล้ว ก็จะนำ 
Algorithm ที่ไดนั้น มาวาดเป็น Flowchart จากนั้นจึงแปลง Flowchart เป็นภาษาระดับสูงที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ 

   ขั้นตอนในการพัฒนาลำดับขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา นับว่า เป็นขั้น ตอนที่สำคัญ อีกขั้น ตอน
หนึ่ง เพราะเป็นข้นั ตอนที่นา วิธีการแก้ปัญหาที่ได้ทำ การทดลองหาวิธีการแก้ปัญหาในส่วนของการ
ทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง (Hand Example) มาทา การเรียบเรียงลำดับขั้น ตอนการทำงานของวิธีการแก้ปัญหา ตั้งแต่ขั้น ตอนแรกจนถึงขั้น ตอนสุดท้าย ว่ามีลำดับขั้น ตอนการทำงานอย่างไรบ้างเพื่อที่จะนา ไปสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการแก้ไข้ปัญหาด้วยวิธีการนี้

อัลกอริทึม
จะมีหลักการเขียนอัลกอริทึมที่สามารถเข้าใจได้ง่าย โดยเรียงลำดับตามนี้
1. เรียงลำดับความสําคัญของงานที่จะทํา
2. เขียนออกมาในลักษณะภาษาเขียนสามารถเข้าใจง่าย
3. มีความละเอียดของโครงสร้างพอสมควร