วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หลักการทำงานของ Flowchart  นั้นมีอยู่ 3
ประเภทคือ   
   1. การทำงานแบบตามลำดับ (Sequence)
   2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision or Selection)
   3. การทำซ้ำ (Repeation or Loop)
โดยแต่ละประเภทจะทำหน้าที่ดังนี้
    1. การทำงานแบบตามลำดับ (Sequence)
     รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุดคือ เขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด 
 และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด
 สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์
ตัวอย่างเช่น  

   2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข (Decision or Selection)
     การตัดสินใจ หรือเลือกเงื่อนไขคือ เขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ 
 โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง
 และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น
 เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย
 เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
ตัวอย่างเช่น


   3. การทำซ้ำ (Repeation or Loop)

    การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการ
ที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา 
จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการด้วยตนเอง
รูปแบบการทำซ้ำนั้น ยังมีเงื่อนไขที่เข้ามาเกี่ยวข้อง  บาง loop  ก็จะมีเงื่อนไขต่างเช่น
 ทำก่อนแล้วค่อยเช็คทีหลัง  เช็คก่อนแล้วทำทีหลัง

ตัวอย่างเช่น
      ตัวอย่างของรูปแบบ For
             


ตัวอย่างแบบวนซ้ำ แบบ while


ตัวอย่างแบบวนซ้ำ แบบ  Do- while
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น